หัวข้อ   “ประชาวิวัฒน์ 9 ข้อของรัฐบาลกับการตัดสินใจเลือกตั้ง”
                 ประชาชน 62.9% ระบุนโยบายประชาวิวัฒน์ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ
เลือกผู้สมัครในการเลือกตั้งใหญ่
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
ของคนกรุงเทพฯ และ ปริมณฑลที่มีต่อนโยบายประชาวิวัฒน์ 9 ข้อของรัฐบาล โดยเก็บ
ข้อมูลระหว่างวันที่ 10-11 ม.ค. ที่ผ่านมา   พบว่า
ประชาชนโดยรวมร้อยละ 58.9 ระบุว่า
ได้รับประโยชน์จากนโยบายประชาวิวัฒน์ ที่เหลือร้อยละ 41.1 ไม่ได้รับประโยชน์
และเมื่อสอบถามเฉพาะกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ ร้อยละ 91.3  เห็นว่าผลประโยชน์
ที่ได้รับตรงตามความต้องการ   มีเพียงร้อยละ 8.7 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่ตรงตาม
ความต้องการ
 
                 เมื่อสอบถามเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากนโยบายประชาวิวัฒน์มีผลต่อ
การตัดสินใจในการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นอย่างไร
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.9
ระบุว่า “ไม่มีผล เพราะจะดูที่นโยบายตอนหาเสียง ดูที่ตัวบุคคลผู้สมัคร และจะเลือก
จากผู้สมัครและพรรคที่ชอบเป็นหลัก”
  ขณะที่ร้อยละ 28.1 ระบุว่า “มีผลโดยจะเลือกลง
คะแนนให้ฝ่ายรัฐบาลที่ออกนโยบาย”   และร้อยละ 9.0 ระบุว่า “มีผลโดยจะไม่ลงคะแนนให้
ฝ่ายรัฐบาลที่ออกนโยบาย”  และเมื่อพิจารณาตามกลุ่มอาชีพ พบว่า กลุ่มอาชีพหาบเร่แผงลอย เป็นกลุ่มอาชีพที่ระบุว่า
จะตัดสินใจลงคะแนนให้ ฝ่ายรัฐบาลในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่นๆ
 
                 ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 49.6 ไม่แน่ใจว่านโยบายประชาวิวัฒน์จะเป็นนโยบายที่ช่วยลดความ
เหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมได้จริงหรือไม่
  ขณะที่ร้อยละ 31.2 เชื่อว่าช่วยตอบโจทย์ในเรื่อง
ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมได้  และอีกร้อยละ 19.3 เชื่อว่าไม่ตอบโจทย์
 
                 อย่างไรก็ตาม   จากข้อมูลสถานะทางการเงินในปัจจุบันของผู้ตอบแบบสอบถาม   พบว่า กลุ่มอาชีพ
รถจักรยานยนต์รับจ้าง   กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย   และกลุ่มอาชีพแท็กซี่   ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มที่มีฐานะการเงินที่ด้อยกว่า
กลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่เหลือ   โดยมีหนี้สินจำนวนร้อยละ 51.7, 48.3 และ 47.5 ตามลำดับ   ดังนั้น การที่รัฐบาลออกนโยบาย
ประชาวิวัฒน์โดยให้ความสำคัญกับคน 3 อาชีพนี้เป็นพิเศษ   จึงน่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมให้กับ
สังคมได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. แสดงร้อยละของผู้ที่ระบุว่าได้รับประโยชน์จากนโยบายประชาวิวัฒน์ 9 ข้อของรัฐบาล

นโยบาย/ มาตรการช่วยเหลือ
ได้รับประโยชน์จาก
นโยบายประชาวิวัฒน์
หรือไม่ (ร้อยละ)
รับ
ไม่ไ้ด้รับ
1. เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าระบบประกันสังคม (เฉพาะกลุ่ม
    อาชีพที่ไม่อยู่ในระบบ)
70.7
29.3
2. การเข้าถึงสินเชื่อของกลุ่มแท็กซี่ และผู้ค้าหาบเร่แผง
39.4
60.6
3. การช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพจักรยานยนต์รับจ้าง โดยการ
    จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการส่งเงิน
    ให้กลุ่มคนต่างๆ
43.2
56.8
4. การช่วยเหลืออาชีพผู้ค้าหาบเร่แผงลอย โดยการขยาย
    จุดผ่อนผัน
45.0
55.0
5. การยกเลิกการอุดหนุนก๊าซแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม ให้ใช้
    ราคาตลาด (แต่ในส่วนของภาคครัวเรือนและขนส่ง
    จะตรึงราคาไว้เหมือนเดิม)
61.5
38.5
6. ค่าไฟฟ้าฟรีสำหรับผู้ใช้ต่ำกว่า 90 หน่วยต่อเดือน
    (โดยผู้ใช้ไฟฟ้ามากต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อนำเงิน
    ส่วนนี้มาช่วยประชาชนที่ใช้ไฟน้อย)
58.5
41.5
7. ลดต้นทุนภาคเกษตร โดยเฉพาะอาหารสัตว์ พ่อพันธุ์
    แม่พันธุ์ อันจะช่วยให้ราคาหมู ไก่ และไข่ อยู่ในระดับ
    ที่เหมาะสม
64.3
35.7
8. การเสนอข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าต่างๆ ผ่านสื่อ
    ต่อผู้บริโภค เพื่อการรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของราคา
    ต้นทุนเพื่อที่ผู้บริโภคจะได้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
76.3
23.7
9. การลดปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ให้ได้ร้อยละ 20
    ภายใน 6 เดือน
71.0
29.0
รวม
58.9
41.1
 
 
             2. แสดงร้อยละของผู้ที่เห็นว่ามาตรการประชาวิวัฒน์ตรงกับความต้องการ (เฉพาะผู้ที่ตอบว่า
                 ได้ประโยชน์)


นโยบาย/ มาตรการช่วยเหลือ
มาตรการตรงกับ
ความต้องการของ
ผู้ได้รับประโยชน์
หรือไม่(ร้อยละ)
ตรง
ไม่ตรง
1. เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าระบบประกันสังคม (เฉพาะกลุ่ม
    อาชีพที่ไม่อยู่ในระบบ)
92.1
7.9
2. การเข้าถึงสินเชื่อของกลุ่มแท็กซี่ และผู้ค้าหาบเร่แผง
85.9
14.1
3. การช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพจักรยานยนต์รับจ้าง โดยการ
    จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการส่งเงิน
    ให้กลุ่มคนต่างๆ
85.2
14.8
4. การช่วยเหลืออาชีพผู้ค้าหาบเร่แผงลอย โดยการขยาย
    จุดผ่อนผัน
83.2
16.8
5. การยกเลิกการอุดหนุนก๊าซแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม ให้ใช้
    ราคาตลาด (แต่ในส่วนของภาคครัวเรือนและขนส่ง
    จะตรึงราคาไว้เหมือนเดิม)
93.1
6.9
6. ค่าไฟฟ้าฟรีสำหรับผู้ใช้ต่ำกว่า 90 หน่วยต่อเดือน
    (โดยผู้ใช้ไฟฟ้ามากต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อนำเงิน
    ส่วนนี้มาช่วยประชาชนที่ใช้ไฟน้อย)
92.6
7.4
7. ลดต้นทุนภาคเกษตร โดยเฉพาะอาหารสัตว์ พ่อพันธุ์
    แม่พันธุ์ อันจะช่วยให้ราคาหมู ไก่ และไข่ อยู่ในระดับ
    ที่เหมาะสม
93.7
6.3
8. การเสนอข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าต่างๆ ผ่านสื่อ
    ต่อผู้บริโภค เพื่อการรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของราคา
    ต้นทุนเพื่อที่ผู้บริโภคจะได้ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
94.3
5.7
9. การลดปัญหาอาชญากรรมต่างๆ ให้ได้ร้อยละ 20
    ภายใน 6 เดือน
94.0
6.0
รวม
91.3
8.7
 
 
             3. ผลจากการได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐบาลที่มีต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครในการ
                 เลือกตั้งใหญ่ที่จะถึงนี้

 
ร้อยละ
มีผล โดย จะลงคะแนน ให้ฝ่ายรัฐบาลที่ออกนโยบาย
28.1
มีผล โดย จะไม่ลงคะแนน ให้ฝ่ายรัฐบาลที่ออกนโยบาย
9.0
ไม่มีผล   เพราะจะดูที่นโยบายตอนหาเสียง ดูที่ตัวบุคคล และ
             จะเลือกจากผู้สมัครหรือพรรคที่ชอบ เป็นหลัก
62.9
 
 
             4. ผลจากการได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐบาลที่มีต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครในการ
                 เลือกตั้งใหญ่ที่จะถึงนี้ (จำแนกตามกลุ่มอาชีพ)

กลุ่มอาชีพ
มีผล โดย
ไม่มีผล เพราะ
จะลงคะแนน
ให้ฝ่ายรัฐบาล
(ร้อยละ)
จะไม่ลงคะแนน
ให้ฝ่ายรัฐบาล
(ร้อยละ)
จะดูที่นโยบาย
ตอนหาเสียง ดูที่ตัวบุคคลผู้สมัคร และเลือกผู้สมัคร
และพรรคที่ชอบ
เป็นหลัก (ร้อยละ)
กลุ่มแท็กซี่
25.8
5.0
69.2
กลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง
22.5
10.0
67.5
กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย
42.6
9.8
47.6
ค้าขาย(ที่ไม่ใช่หาบเร่)/ธุรกิจส่วนตัว
22.6
9.7
67.7
รับจ้างทั่วไป
26.3
5.3
68.4
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
19.7
8.2
72.1
พนักงานเอกชน
26.5
11.6
61.9
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
27.5
11.2
61.3
อื่นๆ(ว่างงาน นักศึกษา)
36.0
5.8
58.2
รวม
28.1
9.0
62.9
 
 
             5. มาตรการทั้ง 9 ข้อ กับการตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาความเป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคม

 
ร้อยละ
เห็นว่าตอบโจทย์
31.2
เห็นว่าไม่ตอบโจทย์
19.3
ไม่แน่ใจ
49.6
 
 
             6. สถานะทางการเงิน(สุทธิ) ณ ปัจจุบันของผู้ตอบแบบสอบถาม (จำแนกตามกลุ่มอาชีพ)

กลุ่มอาชีพ
มีเงินออม
(ร้อยละ)
มีหนี้สิน
(ร้อยละ)
ไม่มีเงินออม
แต่ก็ไม่มีหนี้สิน
(ร้อยละ)
กลุ่มแท็กซี่
11.7
47.5
40.8
กลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง
16.4
51.7
31.9
กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย
17.5
48.3
34.2
ค้าขาย(ที่ไม่ใช่หาบเร่)/ธุรกิจส่วนตัว
29.5
37.5
33.0
รับจ้างทั่วไป
33.9
35.6
30.5
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
38.6
40.4
21.1
พนักงานเอกชน
37.3
30.0
32.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
27.6
42.1
30.3
อื่นๆ(ว่างงาน นักศึกษา)
42.9
9.5
47.6
รวม
27.8
38.1
34.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง
และชั้นนอก จำนวนทั้งสิ้น 26 เขต  ได้แก่ คลองเตย จอมทอง ดินแดง บางกอกน้อย บางเขน บางคอแหลม บางแค
บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ป้อมปราบ พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี
ลาดกระบัง วังทองหลาง สะพานสูง สาทร หนองจอก และหลักสี่   และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี
และสมุทรปราการ  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,233 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 55.4 และเพศหญิงร้อยละ 44.6
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 10 - 11 มกราคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 13 มกราคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
683
55.4
             หญิง
550
44.6
รวม
1,233
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
265
21.5
             26 – 35 ปี
327
26.5
             36 – 45 ปี
333
27.0
             46 ปีขึ้นไป
308
25.0
รวม
1,233
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
890
72.2
             ปริญญาตรี
304
24.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
39
3.1
รวม
1,233
100.0
อาชีพ:
 
 
             กลุ่มแท็กซี่
153
12.4
             กลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง
153
12.4
             กลุ่มผู้ค้าหาบเร่ แผงลอย
155
12.5
             ค้าขาย(ที่ไม่ใช่หาบเร่)/ธุรกิจส่วนตัว
118
9.6
             รับจ้างทั่วไป
75
6.1
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
80
6.5
             พนักงานบริษัทเอกชน
289
23.5
             พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
101
8.2
             อื่นๆ เช่น ว่างงาน นักศึกษา เป็นต้น
109
8.8
รวม
1,233
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776